วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

ความประทับใจในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

                      ความประทับใจในมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดของข้าพเจ้านั้น มีมากมาย ซึ่งถัาหากพูดถึงความประทับใจจริงๆนั้น ข้าพเจ้าสามารถที่จะยกตัวอย่างหรือนำเสนอได้ เช่น การที่มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดเป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สมบูรณ์ ร่มรื่น และมีภูมิทัศน์ที่ถือว่าสวยงาม ตั้งอยู่บนพื้้นที่ที่เหมาะสม สะดวกสบายต่อการเดินทางหรือการคมนาคม และมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ดก็ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แทบจะทุกด้าน ทั้งทางด้านการศึกษา การเดินทาง การใช้ชีวิตระหว่างการเรียน และคณะผู้บริหารก็ยังเป็นที่เคารพนับถือของนักศึกษาและตัวของข้าพเจ้าเอง

ปลาดุกอุย

 

ปลาดุกอุย เป็นปลาน้ำจืดของไทยชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Carias macrocephalus พบว่ามีการแพร่กระจายทั่วไปเกือบทุกภาค ของประเทศไทยและในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า และบังกลาเทศ ฯลฯ ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีรสชาติดดี ประชาชนชาวไทยโดย ทั่วไปนิยมรับประทานแต่มีราคาค่อนข้างสูงต่อมาเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาดุกด้าน ปลาดุกบิ๊กอุย(สำหรับปลาดุกบิ๊กอุยซึ่งเป็นปลาดุกลูกผสมจากพ่อปลาดุกอัฟริกัน กับแม่ปลาดุกอุยซึ่งให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว) ทำให้เกษตรกรหันมาให้ความสนใจเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุกภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตามปลาดุกอุยก็นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีผสมเทียมในการผลิตลูกปลา ดุกบิ๊กอุย เนื่องจากต้องใช้เป็นแม่พันธุ์ และผู้บริโภคที่พอใจในคุณภาพของเนื้อปลาดุกอุยที่อ่อนนุ่มและเหลืองน่ารับประทาน

 อุปนิสัย ปลาดุกอุยเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ท้องทุ่งนา มีอุปนิสัยการกินอาหารแบบไม่เลือก ส่วนใหญ่ในธีีมชาติมักจะกินพวก ซากสัตวที่เน่าเปื่อย หนอน แมลงและลูกปลาเล็กๆ เป็นอาหาร

 รูปร่างลักษณะ 
 ปลาดุกอุยเป็นปลาไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว ด้านข้างแบน หัวแบนลง กะโหลกท้ายทอยป้านและโค้งมน เงื่ยงที่ครีบหูมีฟันเลื่อยด้านนอกและ ด้านในครีบหลัง ครีบก้น ครีบหางแยกจากกัน ปลายครีบหางกลมมน มีหนวด 4 คู่ มีอวัยวะพิเศาช่วยในการหายใจอยู่บริเวณช่องเหงือกมีทรวดทรงคล้ายต้นไม้ เล็กๆ ลำตัวมีสีน้ำตาลจนดำถึงเข้มซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เป็นปลาตระกูล Clarias เช่นเดียวกันกับปลาดุกด้าน แต่ปลาดุกอุยแตกต่างจากปลาดุกด้านที่ตรง บริเวณปลายกระดูกท้ายทอยมีลักษณะมนโค้ง นอกจากนี้ปลาดุกอุยเป็นปลาที่แข็งแรงอดทนต่อการขาดออกซิเจนได้ดีเหมือนกับปลาหมอ ปลาช่อน ปลาดุกด้าน และปลาสลิด ฯลฯ 

                    เพศปลาดุกอุย เมื่อมองจากภายนอก ด้านรูปร่างในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์จะสังเกตความแตกต่างระหว่างเพศผู้กับเพศเมียได้ยาก เพราะมีรูป ร่างลักษณะที่เหมือนกันมากแต่ปลาชนิดนี้มีลักษณะของอวัยวะเพศแตกต่างกันระหว่างเพศผู้กับเพศเมียตรงที่ส่วนล่างของปลาใกล้กับทวารโดยเมื่อจับปลาหงาย ท้องจะเห็นอวัยวะเพศได้อย่างชัดเจนอยู่ตรงส่วนล่างของทวาร ปลาเพศผู้มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อเรียวยาวและหลายแหลม ส่วนเพศเมียจะมีอวัยวะเป็นติ่งเนื้อค่อน ข้างกลมอยู่ทางตอนใต้ทวารหนักและมีขนาดสั้นกว่า สำหรับในช่วงฤดูผสมพันธุ์อาจบอกลักษณะแตกต่างกันได้ โดยดูที่บริเวณลำตัวของปลา ปลาดุกอุยเพศเมีย จะมีส่วนท้องป่องออกมาทั้งสองข้างเมื่อมองดูจากด้านบน ส่วนปลาเพศผู้จะมีลำตัวเรียวยาว ท้องไม่ป่องเหมือนปลาเพศเมีย

 การสืบพันธุ์ 
 1.ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีอายุเจริญพันธุ์ค่อนข้างเร็ว ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก็จะเจริญเติบโตเต็มวันซึ่งสามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้ สำหรับปลาดุก อุยในธรรมชาติจะเริ่มเพาะขยายพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน รวมเป็นช่วงเวลาขยายพันธุ์ในรอบปีเป็นเวลา 8-9 เดือน
                   2. ปลาดุกอุยเป็นปลาที่เลือกคู่คุ่ใครคู่มัน เมื่อปลาดุกพร้อมวางไข่แล้วจะจับคู่กับปลาเพศผู้เพื่อการผสมพันธุ์ การวางไข่ในธรรมชาติแม่ปลาจะ วาง ไข่ในหลุมโพรงหรือดินใต้น้ำ
 ปลาจะใช้ส่วนลำตัวและหางกวาดเศษดินเศษโคลนออกจากหลุมจนหมดเหลือแต่ดินแข็งๆ เพื่อที่จะให้ไข่เกาะติดได้ ไข่ปลาดุกอุยจะมี สีน้ำตาลอ่อน จนถึงสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ จำนวนไข่จะมีประมาณ 2,000-5,000 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของแม่ปลา ปลาจะดูแลฟักไข่และเลี้ยงลูก ระยะหนึ่ง หากพบแหล่งวางไข่ของปลาดุกอุยซึ่งสังเกตเห็นว่าพ่อแม่ปลาจะว่ายน้ำเข้าออกบริเวณนั้นอยู่ระยะหนึ่งโดยมีพฤติกรรมเช่นเดียวกันกับปลาดุกด้าน ช่วง เวลาที่พบปลาชนิดนี้วางไข่ในธรรมชาติจะพบในฤดูฝน ฤดูน้ำหลากหรือช่วงที่เปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ในบ่อ เนื่ื่องจากปลาดุกอุยเป็นปลาที่แข็งแรงทนทานกิน อาหารง่าย เจริญเติบโตเร็วและอยู่รวมกันได้อย่างหนาแน่น เป็นปลาที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค จึงมีราคาแพงทำให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพได้ดีในระดับ หนึ่ง
 การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุย
                   
พ่อแม่พันธุ์ปลาส่วนใหญ่จะได้จากธรรมชาติบ่อปลาสลิดบ่อปลาที่เลี้ยงผสมผสาน โดยรวบรวมในช่วงฤดูแล้งปลาที่ได้ส่วนใหญ่จะมีความสมบูรณ์ ์ทางเพศพร้อมที่จะนำมาเพาะพันธุ์ได้ ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือได้พ่อแม่พันธ์จากการขุนเลี้ยงขึ้นมาเอง เมื่อมีอายุได้ประมาณ 8 เดือน จะจับขึ้นมาคัดเพื่อเพาะพันธุ์ในรอบ 1 ปี แม่ปลาตัวหนึ่งนำมาเพาะพันธุ์ได้ประมาณ 2-3 ครั้ง อายุการใช้งานของแม่ปลาแต่ละรุ่นจะใช้ได้ไม่เกิน 3 ปี
  การผสมเทียม
                   ในการเพาะฟักโดยวิธีผสมเทียมหากแม่ปลาดุกอุยไม่บอบช้ำมากอาจนำมาผสมเทียมได้ 2-3 ครั้ง/ปี การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยในอดีตใช้ฮอร์โมน สกัดจำพวก Gonadotrophim hormone (H.C.G)ผสมกับต่อมใต้สมองปลาในอัตรา H.C.G. 100-150 I.U. กับต่อมใต้สมองปลาสวาย ปลาไนหรือปลา อื่นๆ อัตราส่วน 0.7-1โดสต่อแม่ปลาที่มีน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม โดยฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อส่วนหลังของตัวปลาเพื่อเร่งให้แม่ปลาไข่สุกพร้อมที่จะวางไข่ซึ่งใช้ ้เวลาประมาณ 13-16 ชั่วโมง ปัจจุบันการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยโดยวิธีผสมเทียมใช้ฮอร์โนสังเคราะห์  เช่นSuperfact (Buseralin acetate) ในอัตราส่วน 20 ไมโครกรัมผสมกับ Motilium ( Domperidone) 0.5-1 เม็ด ต่อแม่ ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ปลาดุกอุย จะวางไข่ในระยะเวลา 13-16 ชั่วโมง เช่นเดียวกับการใช้ฮอร์โมนสกัด แต่วิธีการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ง่ายและประหยัดกว่า

 ลักษณะไข่ปลาดุกอุย                     ไข่ปลาที่ดีจะไหลออกจากช่องเพศของปลาเพศเมียได้ง่ายไข่แต่ละเม็ดจะแยกออกจากกัน ไม่ติดเป็นกระจุก ไข่ที่รีดได้จะเป็นสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำ ตาลเข้ม และควรรีดไข่ออกจากแม่ปลาได้ไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซนต์ จึงจะเป็นไข่ที่ดีและจะต้องไม่มีเลือดหรือของเหลวชนิดอื่นเจือปน เมื่อได้ไข่ปลามากพอแล้ว (ส่วนใหญ่จะรีดไข่จากแม่ปลาหลายๆแม่มารวมกัน) นำไข่ไปผสมกับน้ำเชื้อเพศผู้ ซึ่งแกะเอาถุงน้ำเชื้อมากจากช่องท้องของปลาเพศผู้ นำมาวางบนผ้ามุ้งเขียวแล้ว ขยี้ในน้ำที่เตรียมไว้คั้นเอาน้ำเชื้อออกมาเทราดผสมกับไข่ คนไข่กับน้ำเชื้อคลุกเคล้ากันให้ทั่วเสร็จแล้วเติมน้ำและล้างให้สะอาด 2-3 ครั้ง จึงนำไข่ไปฟัก
                    ส่วนอีกวิธีหนึ่ง ปล่อยพ่อแม่ปลาให้ผสมกันเองในถังซีเมนต์หรือบ่อดินที่เตรียมไว้ กรณีนี้จะไม่ต้องเสียพ่อแม่พันธุ์ไม่บอบช้ำแต่จะได้ลูกปลาจำนวน น้อยไม่เหมาะกับการทำธุรกิจเพาะพันธุ์ปลาจำหน่าย โดยต้องการลูกปลาดุกอุยเสริมบ่อเลี้ยงปลาในธรรมชาติวิธีนี้จะได้ผลดีในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ต้องเริ่มปล่อยปลาดุก ก่อนที่จะปล่อยปลาชนิดอื่น 10-20 วัน การเพาะพันธุ์วิธีดังกล่าวจะมีข้อเสียหากที่คับแคบปลาจะทำร้ายกันเองหนื่องจากการแย่งคู่ เพราะไข่ปลาจะติดกับพื้นภาชนะ นั้น แต่ควรจะคำนวนเวลาให้พ่อแม่ปลาผสมกันเองในช่วงเวลากลางคืน พ่อแม่ปลาจะได้ไม่ตกใจและไม่เครียด ไข่ปลาดุกอุยเป็นไข่ติดชนิดไม่ติดแน่นนักเมื่อหลุดจาก วัสดุที่เกาะแล้วจะไม่เกาะติดอีก ทำให้เลือกรูปแบบของการฟักได้
                    
การฟักไข่ของปลาดุกอุยทั่วๆ ไปทำได้ 2 แบบ 
                    การฟักในถุงฟัก 
การฟักไข่ปลาดุกอุยมีลักษระเช่นเดียวกับการฟักไข่ปลาครึ่งลอยครึ่งจมทั่วๆ ไป ซึ่งมีน้ำดันให้ไข่ลอยตัวจากก้นกรวยอย่าง สม่ำเสมอไข่ที่ได้รับการผสมหรือไขเสียจะสามารถดูดออกทิ้งได้เป็นระยะๆ โดยวิธีกาลักน้ำ การฟักไข่ปลาดุกอุยลักษณะนี้จะฟักไข่ได้อัตรารอดสูงและใช้น้ำมาก พอสมควร แต่ก็สามารถวนกลับมาใช้ใหม่ได้ ไข่ฟักออกเป็นตัวหมดจะใช้เวลาประมาณ 24-30 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำนำลูกปลาวัยอ่อนที่ได้ไปอนุบาล ในภาชนะอื่นต่อไป ในระยะนี้ลูกปลาวัยอ่อนค่อยๆ เคลื่อนย้ายไปซุกอยู่ตามมุมหนึ่งมุมใดของบ่อและรวมตัวกันเป็นกระจุก เมื่อไข่แดงยุบหมดแล้วลูกปลาจะเริ่ม ลอยตัวว่ายไปมาเพื่อหาอาหาร และเคลื่อนไหวรวดเร็วมากในตอนกลางคืนซึ่งมีแสงสว่างน้อย เพราะปลาดุกอุยเป็นปลากินอาหารตอนกลางคืน โดยอุปนิสัยและ กินอาหารจุกว่าตอนกลางวัน
                    ส่วนการฟักไข่อีกวิธีหนึ่ง คือนำไข่ที่ผสมแล้วไปโรยไว้ให้เกาะติดกับอวนมุ้งไนลอนสีเขียวที่เตรียมไว้โดยโรยไข่ให้กระจายติดตาข่ายอย่าง สม่ำเสมอ เมื่อฟักไข่เป็นตัวแล้วให้ลดระดับน้ำลงต่ำกว่าอวนมุ้งไนลอนประมาณ 1 เซนติเมตร  จากนั้นยกอวนมุ้งไนลอนซึ่งมีไข่เสียและเปลือกไข่ออกจากบ่อเพื่อป้อง กันน้ำเน่าเสีย แล้วเติมน้ำให้เท่ากับระดับเดิม การฟักไข่วิธีนี้ควรจะมีการระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอจึงจะได้ผลดี สำหรับเกษตรบางรายสามารถจัดระบบการหมุนเวียน น้ำได้ดีโดยโรยไข่ที่ผสมแล้วให้เกาะติดกับถังซีเมนต์ไปเลยก็ได้ การฟักไข่วิธีหลังนี้จะต้องใช้พื้นที่บ่อมาก ข้อสังเกต หากน้ำในบ่อไม่เน่าเสียลูกปลาดุกอุยที่ไข่แดง ยังไม่ยุบจะซุกตัวกันเป็นกระจุกอยู่ตามมุมบ่อ แต่ถ้าหากน้ำเน่าเสียปลาจะลอยตัวและไหลไปตามน้ำการเพาะฟัก ในปัจจุบันนิยมวิธีที่ 2


 การอนุบาล
                    
มีวิธีแตกต่างกัน โดยทั่วไปจะอนุบาลในบ่อซีเมนต์ขนาด 2x3 เมตร น้ำลึกประมาณ 20-30 ซม. ความจุของบ่อขนาดดังกล่าวสามารถอนุบาล ลูก ปลาได้ตั้งแต่ 10,000-20,000 ตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลและการถ่ายน้ำ อาหารที่ให้คือไรแดง ในระยะเริ่มต้นหลังจากที่ลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 3 วัน หลัง จากนั้นจะทยอยให้กินอาหารสำเร็จรูปพวกพาวเดอร์ฟีด(powder-feed)หรือไข่ตุ๋นอนุบาลลูกปลาประมาณ 12-15 วัน ลูกปลาจะมีขนาด2-3 ซม.สามารถ นำไป เลี้ยงเป็นปลาเนื้อ นอกจากนี้ยังมีการอนุบาลที่นิยมกันมากอีกวิธีหนึ่ง คือ การอนุบาลในบ่อดินทั่วๆ ไป ขนาด 400-1,600 ตารางเมตร
                    ในระยะแรกเติมน้ำเข้าบ่อที่ใส่่ปูนขาวและกำจัดศัตรูปลาเรียบร้อยแล้วให้ระดับน้ำประมาณ 30-50 ซม. หลังจากนั้นค่อยๆ เติมน้ำเพิ่มขึ้นในระยะ ต่อมาการอนุบาลแบบนี้จะอนุบาลลูกปลาได้จำนวนมากและลูกปลาเติบโตเร็ว เนื่องจากในบ่อดิยจะเกิดอาหารธรรมชาติมากมายหลายชนิด ส่วนอาหารใช้ ชนิดเดียวกันกับที่อนุบาลในบ่อซีเมนต์
                    การให้อาหารควรเน้นให้ระยะเวลาพลบค่ำเป็นหลัก เพราะเวลานี้ลูกปลาจะตื่นตัวมากตามสัญญาณของสัตว์หากินกลางคืน การอนุบาลลูกปลาดุก วัยอ่อนปัญหาหลักคือ โรคปลา เนื่องจากการเลี้ยงอย่างหนาแน่นจะเกิดโรคบ่อยมากจึงต้องเอาใจใส่ในเรื่องความสะอาด การให้อาหารมากเกินไปเศษอาหารจะเหลือ มากเกิดการหมักหมด บางครั้งต้องใช้น้ำยาเคมีและยาปฏิชีวนะเข้าช่วยบ้าง ทั้งนี้ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ปัญหาจะเกิดมากในช่วงฝนตกชุกอากาศเย็นลูกปลาจะอ่อนแอ เติบโ
ตช้า เป็นโรคง่าย ตรงกันข้ามหากอนุบาลในช่วงระยะเวลาที่อากาศร้อนฝนไม่ตกติดต่อกัน ลูกปลาดุกจะกินอาหารได้มากและเติบโตเร็ว แตกต่างกับการเลี้ยงใน ช่วงฤดูฝนตกชุกซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าปลาดุกจะกลัวฝนและชอบอากาศร้อน
                   ฉะนั้นการอนุบาลลูกปลาดุกอุยและการนำลูกปลาดุกมาเลี้ยง ควรคำนึงถึงเรื่องเวลาเช่นกันในช่วงระยะเวลาที่ฝนตกชุกบางครั้งจำเป็นต้องใช้ปูนขาว ละลายน้ำสาดให้ทั่วๆ บ่อควบคู่กันไปด้วย เพื่อปรับสภาพน้ำให้ปกติซึ่งจะใช้ในอัตราส่วน 60 กก./ไร่ โดยทยอยแบ่งใส่ประมาณ 3 ครั้งๆ ละ 20 กก./ไร่ ติดต่อกัน เป็นเวลา 3 วัน จะช่วยให้คุณภาพน้ำดีขึ้นและความเป็นกรดของน้ำลดลง การอนุบาลในบ่อดินนี้จะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ จะได้ลุกปลามีขนาดความยาว 5-7 ซม. ทยอยนำออกจำหน่ายหรือเลี้ยงต่อไป

                  
         ข้อควรระวัง ในการอนุบาลลูกปลาทั้งสองวิธีข้างต้นอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องกำจัดลูกปลาดุกอุยรุ่นก่อนๆ ให้หมด หากมีการใช้บ่อ อนุบาลลูกปลาซ้ำหรือการใช้ลูกปลาดุกอุยที่มีอายุและขนาดต่างกันมาเลี้ยงรวมกัน ลูกปลาจะเสียหายมากเนื่องจากการกินกันเอง ฉะนั้นตามซอกมุมรอยแตกหรือที่ๆ มีน้ำ ขังเพียงเล็กน้อยในการล้างทำความสะอาดบ่อแต่ละครั้ง โดยเฉพาะบ่อดินมักจะกำจัดปลารุ่นก่อนๆ  ไม่หมดปลารุ่นหลังจะถูกปลารุ่นก่อนๆ  กัดกินเสียหายเป็น จำนวนมากและเช่นเดียวกันหากการอนุบาลใช้ระยะเวลามากกว่าที่กล่าว ลูกปลาตัวใหญ่จะกินลูกปลาตัวเล็ก เนื่องจากปลามีการเจริญเติบโตแตกต่างกันทำให้ลูกปลา เหลือน้อยมีปริมาณลดลงตามลำดับการเลี้ยงปลาดุกในระยะแรกๆ ที่มีการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยขึ้นมาได้ใหม่ๆ และอนุบาลลูกปลาให้มีขนาด 2-3 ซม.แล้วจึงนำลูกปลา ไปเลี้ยงในบ่อดินอัตราการปล่อยค่อนข้างหนาแน่น ประมาณ 10-20 ตัวต่อตารางเมตรหรือ 16,000-32,000 ตัวต่อไร่ หรืออาจมากกว่านี้ ความหนาแน่นที่พอ เหมาะนอกจากจะหวังผลในแง่ของผลผลิตต่อไร่แล้วยัง มีผลต่อการกินอาหารของปลาในบ่อมาก เพราะลูกปลาจะเหนี่ยวนำพากันกินอาหาร ได้ดีซึ่งเป็นธรรมชาติของปลาทั่วๆไปอาหารที่ให้กับการ เลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อดินนี้เช่นเดียวกับการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนและจะทยอยปนใส้ไก่หรืออื่นๆที่ราคา ถูก และหาได้ตามท้องถิ่นให้ทีละน้อยและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในระยะ เวลาต่อมา สำหรับการเปลี่ยนอาหารจะต้องหัดให้ปลากินโดยใช้ระยะเวลาพอสมควร ในกรณีที่เป็น อาหารสดจำพวกปลาเป็ดนำมาผสมรำละเอียด อัตราส่วน 9:1
                            ปลาอายุ 41-60 วัน  ให้อาหาร 6-8% ของน้ำหนักปลา
                            ปลาอายุ 61-80 วัน  ให้อาหาร 5-6% ของน้ำหนักปลา
                            ปลาอายุ 81-120 วัน ให้อาหาร 4-5% ของน้ำหนักปลา
                     การตรวจสอบในบ่อว่ามีปลามากน้อยเพียงใด เพื่อจัดปริมาณอาหารให้ตามที่กำหนด พร้อมทั้งหมั่นสังเกตว่าอาหารที่ให้ปลา กินเหลือตกค้างในบ่อหรือไม ่อาหารที่เหลือจะลอยเป็นกลุ่มๆ ตามผิวน้ำ แสดงว่าปลากินไม่หมดจะทำให้น้ำเน่าเสียและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจึง ต้องลดปริมาณอาหาร

  การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
                     
เมื่อเลี้ยงปลาไประยะหนึ่งน้ำในบ่อจะมีคุณภาพเสื่อมลง เนื่องจากสิ่งขับถ่ายออกจากตัวปล และเศษอาหารเหลือตกค้างในบ่อจำเป็นต้องมีการ เปลี่ยนน้ำโดยระบายน้ำออกประมาณ 3/4 ของบ่อ และเติมน้ำใหม่เข้าแทนที่ทั้งนี้การถ่ายเทน้ำอาจสังเกตว่า ถ้าปลากินอาหารน้อยลงจากปกติหรือมีอาหารเหลือลอย อยู่ในบ่อมากก็แสดงว่าถึงเวลาที่ต้องถ่ายเทน้ำ หรือน้ำในบ่อมีกลิ่นเหม็นมากสีของน้ำเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที หากไม่อาจถ่ายเทน้ำได้ใน ช่วงนั้นควรใช้เกลือแกงอัตรา 3-4 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร สาดให้ทั่วบ่อ หลังจากนั้น 3-4 วัน จึงเปลี่ยนน้ำใหม่
                     การถ่ายเทน้ำในบ่อจะไม่บ่อยครั้งเมื่อปลามีขนาดเล็กควรใช้วิธีการเพิ่มน้ำทดแทน ปลาที่เติบโตขึ้นการถ่ายเทน้ำแต่ละเดือนก็จะมากขึ้นตามไป ด้วยและถ้าปริมาณน้ำฝนไหลลงบ่อมากๆ ควรระบายน้ำออกจากบ่อประมาณ 3/4 ของบ่อ แล้วเติมน้ำใหม่ให้ได้ปริมาณเท่าเดิม ต่อจากนั้นใช้เกลือแกงในอัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่สาดให้ทั่วบ่อ
                    การป้องกันโรค หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงและใช้ฟอร์มาลีนสาดกระจายทั่วบ่อความเข้มข้น 25-40 ส่วนล้าน สองสัปดาห์ทำซ้ำอีกครั้งเพื่อ กำจัดพวกปลิงใสที่เกาะอยู่ตามเหงืือกและครีบ ครั้งที่ 3 จะห่างจากครั้งที่ 2 ประมาณ 1 เดือน

 ผลผลิต
                    
ปลาดุกที่เลี้ยงจะเริ่มทยอยจับได้ตั้งแต่ปลาอายุ 8-10 เดือน ซึ่งจะมีขนาด 6-10 ตัว/กก. แต่ยังมีขนาดเล็กไม่ตรงกับความต้องการของตลาด สีสัน ภายนอกจะดูดีสู้ปลาจากธรรมชาติไม่ได้ แต่เมื่อนำมาบริโภครสชาติจะไม่ต่างกัน เนื้อปลาเมื่อสุกแล้วจะดูนิ่มและเหลืองน่ารับประทาน
                    การเลี้ยงปลาดุกอุยชนิดเดียวกันนี้จะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายอยู่ระยะหนึ่งแล้วหายไป ต่อมามีการนำปลาดุกอุยไปปล่อยเลี้ยง รวมกับปลานิล ปลาสวาย ปลาช่อน แต่จะปล่อยปลาดุกอุยตัวโต โดยไม่ได้ปล่อยปลาดุกอุยลงเลี้ยงเป็นปลาหลักเพียงแต่ปล่อยลงไปสมทบใน ปริมาณไม่มากนักก็จะได้ปลาขนาดใหญ่สีสันดีขึ้นไม่แตกต่างจากปลาธรรมชาติและจำหน่ายได้ราคาดี เกษตรกรบางรายนำปลาดุกอุยไปปล่อย ร่วมกับในนาปลาสลิดโดยหวังผลข้างต้น ซึ่งได้ปลดีเช่นเดียวกัน
                 
ทั้งนี้ในปัจจุบันผู้เลี้ยงปลาดุกทั่วประเทศมักนิยมเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ซึ่งเป็นปลาที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุก รัสเซียหรือปลาดุกอัฟริกัน เพศผู้กับปลาดุกอุยเพศเมียปลาดุกลูกผสมที่ได้จะเติบโตเร็ว มีความต้านทานโรคสูง รูปร่างสีสันดีและเนื้อมีรสชาติใกล้เคียงกับปลาดุกอุย การเลี้ยงปลาชนิดนี้ปัจจุบัน ประสบผลสำเร็จยึดเป็นอาชีพหลักได้ทำให้การเลี้ยงแพร่กระจายทั่วไป โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่หาอาหารปลาได้ง่ายราคาถูกและฝนไม่ตกชุกมากนัก จนกระทั่ง ปัจจุบัน ปลาดุกบิ๊กอุยได้เข้ามาแทนที่การเลี้ยงปลาดุกด้านอย่างสิ้นเชิง และไม่พบผู้เลี้ยงปลาดุกด้านเป็นการค้าซึ่งในอดีตมีอยู่มากมายได้หายไปหมดสิ้นจากประเทศ ไทยในขณะนี้

 โรคปลาดุกอุย
                 
โรคที่เกิดจากขึ้นกับปลาดุกอาจเกิดจากการขาดสารอาหารเช่น วิตามิน โรคที่เกิดจากพยาธิประเภทปลิงใส เชื้อรา และโรคที่เกิดจากบักเตรีแอโรโม นาส

  การรักษาและการป้องกัน
                
 การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเป็นสิ่งที่ดีโดยให้ความสนใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำ ความเป็นกรดเป็นด่างและเตรียมสารเคมี อาทิ ปูนขาว เกลือแกง เพื่อปรับสภาพน้ำ

  ต้นทุนการเลี้ยง 
                 ต้นทุนการเลี้ยงปลาแบ่งอกได้เป็น 2 ประเภท คือ
                 1.ต้นทุนคงที่ ได้แก่ค่าที่ดิน ค่าเช่า สิ่งก่อสร้าง ค่าแรงงานประจำ อุปกรณ์ราคาแพงและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ต้นทุนส่วนนี้จะคงที่ไม่ว่าผล ผลิตจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ดังนั้นถ้าได้ผลผลิตมากต้นทุนคงที่ต่อกิโลกรัมก็จะลดน้อยลง  ในทางตรงกันข้ามถ้าผลผลิตต่ำต้นทุนคงที่ต่อกิโลกรัมจะเพิ่มขึ้นซึ่ง เกษตรกรส่วนใหญ่มักลืมนึกถึงต้นทุนส่วนนี้
                 2.ต้นทุนผันแปร ได้แก่ ค่าพันธุ์ปลา ค่าอาหาร สารเคมี ยา น้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น กระแสไฟฟ้า ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ค่าแรงงานชั่ว คราวและภาชนะอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพ ต้นทุนผันแปรนี้เป็นต้นทุนส่วนใหญ่ในการเลี้ยงปลาแต่ละรุ่น โดยพบว่าต้นทุนค่าอาหารจะสูงถึง 70-85% ของต้นทุน ทั้งหมด
  การตลาด                  การตลาด เป็นปัญหาใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงปลามากที่สุด ตลาดปลาดุกนั้นเป็นในลักษณะที่มีคนกลางเป็นผู้ตระเวนจับปลาโดยตรงจากบ่อ เลี้ยงแล้วนำไปส่งพ่อค้าขายปลีดตามที่ต่างๆ ตลาดใหญ่จะอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กรุงเทพฯ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ผู้จับปลามี บทบาทค่อนข้างสูงในการกำหนดราคาปลาร่วมกับความต้องการของตลาด ราคาปลาดุกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็ว ขึ้นกับปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดและฤดู กาล โดยทั่วไปพบว่าช่วงเดือนกุมภาพันธ์ -เดือนเมษายน ราคาปลาดุกมักจะราคาถูกเนื่องจากมีปลาธรรมชาติออกสู่ตลาดมาก การเพิ่มปริมาณและมูลค่าก็คือการ ขยายตลาดต่างประเทศ การถนอมและแปรรูปในลักษณะผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นการกระจายผลผลิตอีกทางหนึ่ง

พันธุ์ของปลาดุกในประเทศไทย

พันธุ์ปลาดุกในประเทศไทย


ปลาดุก (อังกฤษ: Walking Catfish) ใช้เรียกปลากลุ่มหนึ่งในสกุล Clarias วงศ์ Clariidae มีถิ่นอาศัยอยู่ทั่วโลก เป็นปลาไม่มีเกล็ด ลำตัวยาว มีหัวที่แบนและแข็ง มีหนวดยาวแปดเส้น สามารถหายใจบนบกได้ เป็นปลาวางไข่ เป็นปลากินเนื้อโดยเฉพาะเมื่อตัวโตเต็มที่ชอบกินปลาอื่นที่ตัวเล็กกว่าเป็นอาหาร

ปลาดุก เป็นปลาที่คนไทยรู้จักกันดี และมีความนิยมบริโภค ในอัตราที่สูง สามารถทำรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงอย่างงดงาม เพียงแต่มีน้ำดี สภาพพื้นที่ดี มีการเอาใจใส่ดูแลให้อาหารดี รวมทั้งผู้เลี้ยงขยันศึกษาหาความรู้เพื่อประยุกต์ใช้กับกิจการของตน และเพื่อสนองตอบปัจจัยในการเลี้ยงปลาดุกอย่างมีประสิทธิภาพ
ปลาดุกที่พบในประเทศไทย
ในประเทศเรานั้นพบว่ามีปลาดุกด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิด แต่เท่าที่รู้จักมีเพียง 2 ชนิด คือ ปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดีเนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี
ปลาดุกอุย

ปลาดุกอุย
สีของผิวหนังค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามตัวและบริเวณด้านข้างของลำตัวอย่างเด่นชัด เนื้อสีออกเหลือง มีมันมาก ลำคัวค่อนข้างทู่ ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยจะป้านและสั้น
ปลาดุกด้าน

ปลาดุกด้าน
สีของลำตัวค่อนข้างคล่ำเล็กน้อย เนื้อมีสีขาว มีมันน้อย ส่วนหัวค่อนข้างแหลมและส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยมีลักษณะแหลมยาว ลักษณะดังกล่าว สังเกตเห็นได้ชัดเจนมาก 
แหล่งกำเนิดและถิ่นอาศัย
ปลาดุกจะพบแพร่กระจายทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง บึง ต่างๆทั่วทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป แม้ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยก็ยังพบปลาดุก ทั้งนี้เพราะปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษในการหายใจ เช่นเดียวกับปลาช่อน ดังนั้นจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อยและถึงแม้ว่าน้ำที่ค่อนข้างกร่อยปลาดุกก็ยังสามารถอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี
ลักษณะนิสัยของปลาดุก
ปลาดุกมีลักษณะที่ต่างจากปลาอื่นอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาดุกไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4 คู่อยู่ที่ริมฝีปาก ตามีขนาดเล็กมาก ใช้หนวดในการหาอาหาร เพราะหนวดปลาดุกมีประสาทรับความรู้สึกที่ดีกว่าตา ปลาดุกชอบหากินตามหน้าดิน มีนิสัยว่องไว สามารถจะขึ้นมาอยู่บนบกได้ทนนานกว่าปลาชนิดอื่นๆ รวมถึงสามารถที่จะอาศัยอยู่ในดิน โคลน เลน และในน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้นาน เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนั่นเอง อาหารที่ปลาดุกชอบกิน ส่วนมากเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่อก็สามารถฝึกให้กินอาหารจำพวกพืชได้ รวมถึงสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมากินอาหารบริเวณผิวน้ำแทนการหาอาหารกินตามหน้าดินได้เช่นเดียวกัน
อาหารปลาดุก
อาหารไม่ว่าสิ่งมีชีวิตใดๆ ล้วนแล้วแต่ต้องการอาหารเพื่อการดำรงอยู่ด้วยกันทั้งนั้น เมื่อปลาดุกฟักไข่ออกมาเป็นตัวลูกปลาดุกจะใช้อาหารจากถุงไข่แดงซึ่งติดอยู่ด้านหน้าท้องของลูกปลา ประมาณ 1 – 2 วัน ถุงไข่แดงจะยุบลง นั่นเป็นเครื่องหมายว่าอาหารที่ติดตัวลูกปลาดุกมาตั้งแต่เกิดได้ใช้หมดไปแล้ว จำเป็นต้องมีการหาอาหารจากสภาพแวดล้อมกิน ในช่วงนี้ผู้เลี้ยงลูกปลาดุกจำเป็นต้องใช้อาหารเพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งต้องมีปริมาณของโปรตีนสูง ได้แก่ ไข่แดงต้มสุก ไรแดง หรืออาหารผสม ต่อมาเมื่อปลาโตขึ้นสามารถที่จะปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้ อาหารที่ให้ได้แก่ ปลาเป็ดสับบดละเอียดผสมกับรำ หรือ อาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำ จวบจนกระทั่ง สามารถจับปลาดุกขายได้
ในธรรมชาติลูกปลาดุก กินอาหารจำพวกโปรโตซัว ไรน้ำขนาดเล็ก โรติเฟอร์ และแพลงค์ตอนพืช ปลาดุกที่มีขนาดโตขึ้น จะกินอาหารจำพวกตัวอ่อนของแมลง ลูกกุ้ง ลูกปู หนอน และอินทรีย์สารที่อยู่ตามพื้นโคลน นอกจากนี้ยังสามารถฝึกให้กินอาหารสมทบทั้งประเภทจมน้ำ หรืออาหารชนิดเม็ดลอยน้ำได้ ซึ่งมีส่วนผสมของอาหารประเภทปลายข้าว รำ กากถั่ว ปลาป่น เป็นต้น
ปลาดุกกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ( Omnivorous) มีนิสัยชอบหาอาหารกินในเวลากลางวันตามบริเวณพื้นก้นบ่อ และจะขึ้นมากินอาหารบริเวณพื้นผิวน้ำเป็นบางขณะ ในบางครั้งก็ถือว่าปลาชนิดนี้เป็นพวก Scavengers เนื่องจากเป็นปลาที่มีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเศษเนื้อที่กำลังสลายตัว ปลาดุกมีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารจำพวกพืชหรืออาหารจำพวกแป้ง
อาหารต่างๆ เหล่านี้ ทั้งที่มีตามธรรมชาติ ทั้งที่ผสมให้กินโดยการทำเองมีสารอาหารต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องให้ปลาดุกอย่างครบถ้วน ตามที่ปลาดุกต้องการ ปลาดุกจึงเจริญเติบโตได้ดี คุณค่าทางอาหารที่ปลาดุกต้องการและจำเป็นมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ
โปรตีน เป็นส่วนสำคัญของอาหารเพื่อนำเข้าไปเสริมสร้างร่างกาย ในส่วนที่สึกหรอ หรือนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ความต้องการโปรตีนของปลาดุกนั้นจะแตกต่างกันไปตามวัยและเวลาที่เพิ่มขึ้น ในลูกปลาวัยอ่อนจนถึงขนาดสามารถปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้มีความต้องการโปรตีนอยู่ในช่วง 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในช่วงระยะเวลาที่อยู่ในบ่อเลี้ยงปลาดุกมีความต้องการโปรตีน 25 – 35 เปอร์เซ็นต์
คาร์โบไฮเดรต สารอาหารประเภทนี้ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานได้บางส่วนแก่ร่างกาย ความต้องการคาร์โบไฮเดรตของปลาดุกจะอยู่ในช่วง 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วปลาดุกจะไม่ขาดสารอาหารประเภทนี้เพราะมีอยู่ในแป้ง ปลายข้าว รำ และในข้าวโพด นอกจากนี้วัตถุดิบเหล่านี้ในอาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำ จะช่วยให้อาหารรวมตัวกันได้แน่นขึ้นอีกด้วย
ไขมัน ไม่ว่าอาหารชนิดใดมักจะมีไขมันปะปนอยู่ด้วยเสมอไม่มากก็น้อย ซึ่งสารอาหารนี้เป็นสารอาหารที่ให้กำลังงานในปริมาณที่สูง บางครั้งปลาดุกที่ได้รับไขมันเป็นจำนวนมากก็จะมีโทษได้เช่นเดียวกันกับการมีประโยชน์ของมัน ในอาหารที่ให้ปลาดุกไม่ควรจะมีไขมันในปริมาณที่มากเกิน 5 – 6 เปอร์เซ็นต์ วัตถุดิบที่มีไขมันในปริมาณมากได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
วิตามิน สารอาหารชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นอาหารบำรุง เพราะมีส่วนช่วยให้ปลาดุกสามารถใช้สารอาหารอื่นๆ ได้มากขึ้น ทำให้ปลาดุกมีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นโดยที่สารอาหารชนิดนี้เองไม่ได้มีส่วนในการเจริญเติบโตของปลาดุกโดยตรงเลย ดังนั้นวิตามินจึงมีความจำเป็นที่ปลาดุกจะต้องได้รับตามความเหมาะสม
แร่ธาตุ เป็นส่วนประกอบสำคัญๆ ของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน และยังเป็นสารที่ควบคุมปริมาณของน้ำในตัวปลา แร่ธาตุมีอยู่ในสารอาหารโดยทั่วๆ ไปอยู่แล้ว


อาหารลูกปลา
ไข่แดงต้มสุก เป็นอาหารของปลาดุกในช่วงในช่วงที่ปลายังมีขนาดเล็ก ไม่สามารถกินอาหารอื่นๆ ได้ ไข่ที่นำมาใช้เป็นไข่เป็ด หรือไข่ไก่ ก็ได้ต้มให้สุกใช้แต่ไข่แดง โดยบี้ไข่แดงยีกับผ้าขาวบางตาละเอียดให้เม็ดเล็กที่สุด การให้ไข่แดงอย่าให้มาก เพราะเมื่อหลงเหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย
ไรแดง เป็นอาหารหลักของลูกปลาวัยอ่อน ช่วยให้ลูกปลามีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว มีอัตราการรอดสูง ก่อนให้ไรแดงเป็นอาหารลูกปลาทุกๆ ครั้งต้องแช่ด้วยด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อโรคเสียก่อน
อาหารปลาใหญ่
ปลาเป็ด เมื่อเรืออวนลากออกจับปลาตามชายฝั่ง จะได้ปลาหลายๆ ขนาด ปลาขนาดเล็กที่จับได้ไม่เป็นที่นิยมบริโภคกันมีราคาไม่แพงมากนัก ปลานี้เราเรียกว่าปลาเป็ด มีคุณค่าของสารอาหารประเภทโปรตีนสูง การให้ปลาเป็ดเป็นอาหารปลาดุกมักจะสับให้ละเอียด หรือใช้เครื่องบดอาหารได้
อาหารเม็ดลอยน้ำ ได้จากการนำวัตถุดิบต่างๆ ทางการเกษตรที่มีคุณค่าทางอาหารมาบดให้ละเอียดแล้วผสมให้เข้ากันอัดเป็นเม็ดออกมา
วัตถุดิบที่นิยมทำมาเป็นอาหารเลี้ยงปลาดุกทั่วๆไป จะหาซื้อได้ตามท้องถิ่นที่ได้จากพืช ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง กากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเมล็ด กากถั่วลิสง กากมะพร้าว ส่วนวัตถุดิบที่ได้มาจากสัตว์ก็มี ปลาเป็ด ปลาป่น เลือดป่น ในการเลือกวัตถุดิบเหล่านี้ควรจะเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี ไม่ขึ้นรา ไม่เหม็นหืน อาหารที่ได้จึงมีคุณภาพดี เก็บไว้ใช้ได้นาน

การเลี้ยงปลาดุก

การเลี้ยงปลาดุก



คอลัมน์เกษตรอีสานกับอีสานร้อยแปด วันนี้จะพาพี่น้องมารู้จักกับ “การเลี้ยงปลาดุก” การเลี้ยงปลาดุกนั้นนอกจากจะเลี้ยงตามบ่อธรรมชาติที่เรารู้จักกันแล้วยังมีวิธีการเลี้ยงปลาดุกที่หลากหลาย อย่างเช่น “การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน“, “การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก” , “การเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูน” , “การเลี้ยงปลาดุกในโอ่ง“, “การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย” , “การเลี้ยงปลาดุกอุย” , “การเลี้ยงปลาดุกรัสเซีย” , “การเลี้ยงปลาดุกนา” เป็นต้น ว่าแล้วเราก็ไปดูกันในแต่ละหัวข้อกันเลยครับพี่น้อง
ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงเพื่อการค้า
การเลี้ยงปลาดุก ทั้งที่เลี้ยงเพื่อทำการค้า หรือเลี้ยงภายในครัวเรือน ปลาดุกที่นิยมนำมาเลี้ยงมีหลากหลายสายพันธุ์ แต่ที่เราจะมาพูดถึงในวันนี้คือการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย,การเลี้ยงปลาดุกอุย,การเลี้ยงปลาดุกรัสเซีย และการเลี้ยงปลาดุกนา
ลักษณะที่แตกต่างของปลาดกอุยและปลาดุกเทศ
ลักษณะที่แตกต่างของปลาดกอุยและปลาดุกเทศ
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย เลี้ยงง่าย โตไวทนทานต่อสภาพอากาศของบ้านเราได้ดี ไม่ค่อยเป็นโรคง่าย เกษตรกรนิยมเลี้ยงเพื่อทำการค้าเป็นอย่างมาก ปลาดุกบิ๊กอุยเกิดจากการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมีย และปลาดุกเทศเพศผู้ ปลาดุกบิ๊กอุย มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุย จึงมีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุยมาก การเพาะขยายพันธุ์นั้นให้ผลค่อนข้างดี ลูกปลาดุกบิ๊กอุยมีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคสูง ในทางกรมประมงให้ชื่อว่า ปลาดุกอุย-เทศ แต่ชาวบ้านทั่วไปเราเรียกกันว่าปลาดุกบิ๊กอุย หรือ อุยบ่อ
การเลี้ยงปลาดุกอุย ได้รับความนิยม เช่นเดียวกัน ด้วยลักษณะเด่นที่เติบโตเร็วและทนทานต่อโรคสูง ไม่เป็นโรคง่าย จึงนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ปลาดุกอุย เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมีย และปลาดุกอุยเพศผู้ ไม่ได้ข้ามสายพันธุ์เหมือนปลาดุกบิ๊กอุย จึงทนทานโรคกว่า แต่ขนาดอาจจะไม่เท่ากันปลาดุกบิ๊กอุย ข้อดีคือดูแลได้ง่ายกว่านั่นเอง
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย
การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย
การเลี้ยงปลาดุกรัสเซีย ปลาดุกรัสเซียเป็นปลาน้ําจืดในอันดับปลาหนังชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clarias gariepinus ในวงศ์ปลาดุก (Clariidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายปลาดุกด้าน (C. batrachus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน แต่มีส่วนหัวยาวกว่าและแนวระหว่างจะงอยปากถึงท้ายทอยเว้าและโค้งลาด ด้านบนของศีรษะขรุขระกว่า เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปสามเหลี่ยม ท้ายทอยแหลมเป็นโค้ง 3 โค้ง โดยส่วนกลางยื่นยาวมากที่สุด ลําตัวยาวครีบหลังและครีบก้นยาว ลําตัวด้านบนมีสีน้ําตาลคล้ําอมเหลือง และมีลายแต้มแบบลายหินอ่อนบนลําตัว แก้มและท้องสีจาง ที่โคนครีบหางมีแถบตามแนวตั้งสีจาง ซึ่งเป็นลักษณะสําคัญของปลาชนิดนี้ครีบมีสีเข้ามกว่าลําตัวเล็กน้อย บางตัวอาจมีขอบครีบสีแดงนับเป็นปลาที่ขนาดใหญ่สุดในสกุล Clarias ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ถึง 1.70 เมตร เป็นปลาพื้นเมืองของทวีปแอฟริกา พบได้ในตอนเหนือและตอนตะวันออกของทวีป สําหรับในประเทศไทยได้ถูกนําเข้ามาในปีพ.ศ. 2528 โดยเอกชนบางรายในจังหวัดหนองคายและอุบลราชธานีโดยนําเข้ามาจากประเทศลาวเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น เนื่องจากมีขนาดลําตัวใหญ่กว่าปลาดุกทั่วไป
การเลี้ยงปลาดุกนา เนื่องจากปลาดุกนาเป็นปลาพื้นเมือง ข้อดีคือทนทานต่อโรคมาก ไม่ต้องดูแลมากปลาดุกนาก็สามารถเติบโตได้ดี รสชาติอร่อย เนื้อแน่น กลิ่นหอมกว่าปลาดุกพันธุ์ แต่ขนาดยังเป็นรองอยู่ นิยมเลี้ยงกันในครัวเรือน เนื่องจากหาพันธุ์ง่าย
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน การเลี้ยงในบ่อดินนั้น จะต้องเตรียมบ่อตามหลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่ว ๆ ไป ดังนี้
1. จะต้องตากก้นบ่อให้แห้ง ปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด
2. ใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60 – 100 กก./ไร่
3. ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรมชาติสำหรับลูกปลาในอัตราประมาณ 40 – 80 กก./ไร่
4. นำน้ำในบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ จนมีระดับน้ำลึก 30 – 40 ซม. หลังจากนั้นรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลา และเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกิน ควรเติมไรแดง ในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม / ไร่ เพื่อเป็นอาหารแก่ลูกปลา หลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลาที่นำมาเลี้ยงควรตรวจดูว่ามีสภาพปกติ การปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำในถุงและน้ำในบ่อให้เท่า ๆ กันก่อนโดยการแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาที จึงปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูน
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูน
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ ควรปรับสภาพน้ำในบ่อที่เลี้ยงให้มีสภาพเป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย แต่ต้องแน่ใจว่าบ่อซีเมนต์จะต้องหมดฤทธิ์ของปูนระดับน้ำในบ่อเมื่อเริ่มปล่อยลูกปลาขนาด 2 – 3 ซม. ควรมีความลึกประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร เมื่อลูกปลาเติบโตขึ้นค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นตามลำดับโดยเพิ่มระดับน้ำประมาณ 5 ซม./อาทิตย์ ให้อาหารเม็ดประมาณ 3 – 7 เปอร์เซนต์ ของน้ำหนักตัวปลาโดยปล่อยปลาในอัตรา 50 – 70 ตัว/ตรม.ปลาจะเติบโตได้ขนาดประมาณ 00 – 200 กรัม/ ตัว ในระยะเวลาสั้น ประมาณ 90 วัน อัตราการรอดประมาณ 80 % ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสามารถให้อาหารชนิดต่าง ๆ ทดแทนอาหารเม็ดได้ โดยใช้อาหารพวกไส้ไก่หรือปลาเป็ดผสมกับเศษอาหารก็ได้ แต่จำเป็นต้องถ่ายเทน้ำ เพื่อป้องกันน้ำเสียบ่อยกว่า การถ่ายเทน้ำเมื่อเลี้ยงด้วยอาหารเม็ด
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก การเตรียมบ่อจะแตกต่างจากสองวิธีข้างต้นคือลดต้นทุนจากแบบบ่อปูนซีเมนซ์ เคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่า การเตรียมบ่อทำได้โดยอาจจะทำคอกขึ้นมา โครงเป็นเหล็ก หรือกึ่งปูนกึ่งพลาสติกก็ได้ คือปูนทำเป็นโครงและรองด้วยพลาสติกอีกชั้น ข้อดีคือไม่ต้องกังวลเรื่องความเค็มของน้ำ เพราะน้ำไม่ได้สัมผัสกับปูนซีเมนต์โดยตรง เราจึงเริ่มเลี้ยงได้ง่ายและไวกว่านั่นเอง
คุณสมบัติของน้ำที่นำมาใช้เลี้ยงปลาดุก
คุณสมบัติของน้ำที่นำมาใช้เลี้ยงปลาดุก
ขั้นตอนการเลี้ยงปลาดุก
1. อัตราการปล่อยปลาดุกลูกผสม (บิ๊กอุย) ลูกปลาขนาด 2 – 3 ซม. ควรปล่อยประมาณ 40 – 100 ตัว / ตรม. ซึ่งขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการเลี้ยง คือชนิดของอาหาร ขนาดของบ่อและระบบการเปลี่ยนถ่ายน้ำซึ่งปกติทั่ว ๆ ไป อัตราปล่อยเลี้ยงประมาณ 50 ตัว/ตรม.และเพื่อป้องกันโรคซึ่งอาจจะติดมากับลูกปลาใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยง อัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร/น้ำ 100 ตัน) ในวันที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหาร ควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
2. การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก ( 2 – 3 ซม.) ควรให้อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลากิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อโดยเฉพาะในบริเวณขอบบ่อ เมื่อลูกปลามีขนาดโตขึ้นความยาวประมาณ 5 – 7 ซม. สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้หลังจากนั้นเมื่อปลาโตขึ้นจน มีความยาว 15 ซม. ขึ้นไปจะให้อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวหรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้ เช่นปลาเป็ดผสมรำละเอียดอัตรา 9 : 1 หรือให้อาหารที่ลดต้นทุน เช่น อาหารผสมบดจากส่วนผสมต่าง ๆ เช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนม ปังเศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือด ไก่ เศษเกี้ยว หรือเศษอาหารต่าง ๆ เท่าที่สามารถหาได้ นำมาบดรวมกันแล้วผสมให้ปลากิน แต่การให้อาหารประเภทนี้จะต้องระวังเรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี เมื่อลูกปลาเลี้ยงได้ประมาณ 3 – 4 เดือนปลาจะมีขนาดประมาณ 200 – 400 กรัม/ตัว ซึ่งผลผลิตที่ได้จะประมาณ 10 -14 ตัน/ไร่ อัตรารอดตายประมาณ 40 – 70%
3.การถ่ายเทน้ำ เมื่อตอนเริ่มเลี้ยงใหม่ ๆ ระดับความลึกของน้ำในบ่อควรมีค่าประมาณ 10 – 40 ซม. เมื่อลูกปลาเจริญเติบโตขึ้น ในเดือนแรกจึงเพิ่มระดับน้ำสูงเป็นประมาณ 50 – 60 เซนติเมตร หลังจากย่างเข้าเดือนที่สองควรเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น 10 เซนติเมตร/อาทิตย์ จนระดับน้ำในบ่อมีความลึก 1.20 – 1.50 เมตร การถ่ายเทน้ำควรเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยถ่ายน้ำประมาณ 20 % ของน้ำในบ่อ 3 วัน/ครั้ง หรือถ้าน้ำในบ่อเริ่มเสียจะต้องถ่ายน้ำมากกว่าปกติ
วิธีการเลี้ยงปลาดุก
วิธีการเลี้ยงปลาดุก
โรคของปลาดุกเลี้ยง
ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. อาการ ติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือดมีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิกกกหูบวม มีน้ำในช่องท้อง กินอาหารน้อยลง หรือไม่กินอาหาร ลอยตัว
2. อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลาจะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง
3. อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินซี กระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกร็งและชักกระตุก
4. อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อดิน ไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็วกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อยหนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัวอนึ่ง ในการรักษาโรคปลาควรจะได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินในการเลือกใช้ยาหรือสารเคมี สาเหตุของโรค ระยะรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา
5. การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกิน ไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมื่อหยุดกินอาหารจะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีก ก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้งแล้วกินอาหารที่ให้ใหม่อีก ซึ่งปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 – 5 % ของน้ำหนักตัวปลา
การเลี้ยงปลาดุกอุย
การเลี้ยงปลาดุกอุย
วิธีป้องกันการเกิดโรค
ในปลาดุกลูกผสมที่เลี้ยง
1.ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา
2. ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยหลาเลี้ยงแล้ว 3 – 4 วัน ควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2 – 3 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตันและหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้ แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 – 5 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6. อย่าให้อาหารจนเหลือ
เคล็ดลับพิเศษสำหรับการเลี้ยงปลาดุก1.เทคนิคการเพิ่มสีและขนาดให้กับปลาดุกด้วยมันหมู  ทำได้โดยการต้มมันหมูให้สุก นำไปเป็นอาหารปลาดุกวันละครั้ง เมื่อครบสองเดือนเริ่มให้อาหารนี้ จะเป็นการเพิ่มขนาดและสีของปลาดุก
2.เทคนิคการเลี้ยงปลาดุกให้โตเร็ว ทนทานต่อโรคด้วยมะเดื่อชุมพร นำมะเดือชุมพรหมักใส่ถุงไม่ให้อากาศเข้า นานหนุ่งเดือนจะได้จุลินทรีย์ นำมาเลี้ยงปลาดุกช่วงอายุประมาณสามเดือน ช่วยเร่งการเติบโต ได้มีน้ำหนักดี
3.การทำให้ปลาดุกที่เลี้ยงบ่อดินผิวสวยสีเหลืองนวลเหมือนปลาดุกนา ก่อนจะจับปลาดุกขายประมาณ 1 เดือน ให้นำกล้วยน้ำหว้าสุกมาบดผสมกับรำรวม ในอัตราส่วนรำรวม 6 ก.ก. ต่อกล้วยสุก 1 หวี ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำไปตากแดดให้แห้ง หว่านให้ปลาดุกกินทุกวัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
4.การเลี้ยงปลาด้วยกล้วยสุกเพื่อเพิ่มความหวานให้เนื้อปลา นำกล้วย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วยหอมชนิดต่างๆ ให้ปลากิน ถ้าปลายังตัวเล็กให้ปลาหัดกินอาหารสำเร็จสลับกับกล้วยสุกฝานเป็นชิ้นเล็กๆ เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้นจะให้กล้วยสุกพร้อมเปลือกเป็นลูก เป็นหวี หรือเป็นเครือก็ตามแต่จะสะดวก อาจจะให้กล้วยเป็นอาหารในตอนเย็นสลับกับการให้อาหารสำเร็จรูปในตอนเช้า หรือจะให้กล้วยเป็นอาหารปลาอย่างเดียวก็ได้ โดยให้ปลากินพออิ่ม วิธีการเช่นนี้สามารถนำไปเลี้ยงปลาได้ทุกชนิด ปลาจะโตเร็ว มีเนื้อแน่น รสหวาน ได้ขนาดตามความต้องการของตลาด
5.เทคนิคการเลี้ยงปลาดุกให้ตัวใหญ่ยาวได้น้ำหนัก
หลังจากปล่อยลูกปลาลงบ่อแล้ว ให้อดอาหาร 4 วัน เพื่อเป็นการปรับสภาพของลูกปลาให้เข้ากับน้ำในบ่อ จากนั้นวันที่ 5 ก็เริ่มให้อาหาร โดยให้อาหารลูกปลาดุกในปริมาณที่ไม่ต้องมาก แต่ให้บ่อยครั้ง ลูกปลาจะค่อยๆ เจริญเติบโต หลังจากนั้นเมื่อปลาอายุได้ประมาณ 2 เดือน ให้หยุดให้อาหาร 7 วัน วิธีนี้จะทำให้ปลาดุกผอม และยืดตัวออก แล้วจึงค่อยให้อาหารต่อ ผลที่ได้คือปลาดุกจะตัวโต และยาว ซึ่งเมื่อเห็นว่ามีขนาดพอเหมาะเช่น 2 หรือ 3 ตัวต่อกิโลกรัม ก็สามารถจำหน่ายได้
6.การนำฟางใส่ในบ่อปลาเพื่อขจัดกลิ่นคาวปลาและเพิ่มสีสัน การที่นำฟางข้าวมาใส่ในบ่อปลาดุกก่อนที่จะทำการจับปลานั้นมีประโยชน์หลายด้าน ซึ่งเมื่อเรานำฟางข้าวใส่ลงไป ปลาก็จะเข้าไปในฟางข้าวทำให้ตัวปลาเสียดสีกับฟางข้าว และจะทำให้เมือกที่ติดอยู่กับตัวปลาหมดไป และยังทำให้ปลาที่มีสีดำคล้ำ มีสีเหลืองนวลอีกด้วย นอกจากนี้การใส่ฟางข้าวลงไปก่อนจับปลาดุกนั้นยังเป็นการช่วยลดกลิ่นสาบของปลาได้อีกด้วย
7.เทคนิคการเตรียมจับปลาดุกขายให้ได้ราคาและกำจัดกลิ่นคาวปลา งดให้อาหาร 3 วัน ก่อนทำการจับปลา จากนั้นลดน้ำในบ่อให้เหลือประมาณ 80 – 90 เซนติเมตร ก่อนจับปลา 2 วัน แล้วใช้เกลือหว่านลงไปในบ่อ บ่อพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เกลือ 30 กิโลกรัม โดยหว่านก่อนจับปลา 1วัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา , รักบ้านเกิดดอทคอม