วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559
ปลาดุกอุย
ปลาดุกอุย เป็นปลาน้ำจืดของไทยชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Carias macrocephalus พบว่ามีการแพร่กระจายทั่วไปเกือบทุกภาค ของประเทศไทยและในประเทศใกล้เคียงเช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า และบังกลาเทศ ฯลฯ ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีรสชาติดดี ประชาชนชาวไทยโดย ทั่วไปนิยมรับประทานแต่มีราคาค่อนข้างสูงต่อมาเกษตรกรนิยมเลี้ยงปลาดุกด้าน ปลาดุกบิ๊กอุย(สำหรับปลาดุกบิ๊กอุยซึ่งเป็นปลาดุกลูกผสมจากพ่อปลาดุกอัฟริกัน กับแม่ปลาดุกอุยซึ่งให้ผลผลิตและมีความต้านทานโรคสูง มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว) ทำให้เกษตรกรหันมาให้ความสนใจเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยกันอย่างแพร่หลาย ทั่วทุกภูมิภาค แต่อย่างไรก็ตามปลาดุกอุยก็นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นที่ต้องการของเกษตรกรผู้เพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีผสมเทียมในการผลิตลูกปลา ดุกบิ๊กอุย เนื่องจากต้องใช้เป็นแม่พันธุ์ และผู้บริโภคที่พอใจในคุณภาพของเนื้อปลาดุกอุยที่อ่อนนุ่มและเหลืองน่ารับประทาน
อุปนิสัย ปลาดุกอุยเป็นปลาที่อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ท้องทุ่งนา มีอุปนิสัยการกินอาหารแบบไม่เลือก ส่วนใหญ่ในธีีมชาติมักจะกินพวก ซากสัตวที่เน่าเปื่อย หนอน แมลงและลูกปลาเล็กๆ เป็นอาหาร
รูปร่างลักษณะ
ปลาดุกอุยเป็นปลาไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว ด้านข้างแบน หัวแบนลง กะโหลกท้ายทอยป้านและโค้งมน เงื่ยงที่ครีบหูมีฟันเลื่อยด้านนอกและ ด้านในครีบหลัง ครีบก้น ครีบหางแยกจากกัน ปลายครีบหางกลมมน มีหนวด 4 คู่ มีอวัยวะพิเศาช่วยในการหายใจอยู่บริเวณช่องเหงือกมีทรวดทรงคล้ายต้นไม้ เล็กๆ ลำตัวมีสีน้ำตาลจนดำถึงเข้มซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เป็นปลาตระกูล Clarias เช่นเดียวกันกับปลาดุกด้าน แต่ปลาดุกอุยแตกต่างจากปลาดุกด้านที่ตรง บริเวณปลายกระดูกท้ายทอยมีลักษณะมนโค้ง นอกจากนี้ปลาดุกอุยเป็นปลาที่แข็งแรงอดทนต่อการขาดออกซิเจนได้ดีเหมือนกับปลาหมอ ปลาช่อน ปลาดุกด้าน และปลาสลิด ฯลฯ
เพศปลาดุกอุย เมื่อมองจากภายนอก ด้านรูปร่างในช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์จะสังเกตความแตกต่างระหว่างเพศผู้กับเพศเมียได้ยาก เพราะมีรูป ร่างลักษณะที่เหมือนกันมากแต่ปลาชนิดนี้มีลักษณะของอวัยวะเพศแตกต่างกันระหว่างเพศผู้กับเพศเมียตรงที่ส่วนล่างของปลาใกล้กับทวารโดยเมื่อจับปลาหงาย ท้องจะเห็นอวัยวะเพศได้อย่างชัดเจนอยู่ตรงส่วนล่างของทวาร ปลาเพศผู้มีลักษณะเป็นติ่งเนื้อเรียวยาวและหลายแหลม ส่วนเพศเมียจะมีอวัยวะเป็นติ่งเนื้อค่อน ข้างกลมอยู่ทางตอนใต้ทวารหนักและมีขนาดสั้นกว่า สำหรับในช่วงฤดูผสมพันธุ์อาจบอกลักษณะแตกต่างกันได้ โดยดูที่บริเวณลำตัวของปลา ปลาดุกอุยเพศเมีย จะมีส่วนท้องป่องออกมาทั้งสองข้างเมื่อมองดูจากด้านบน ส่วนปลาเพศผู้จะมีลำตัวเรียวยาว ท้องไม่ป่องเหมือนปลาเพศเมีย
การสืบพันธุ์
1.ปลาดุกอุยเป็นปลาที่มีอายุเจริญพันธุ์ค่อนข้างเร็ว ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก็จะเจริญเติบโตเต็มวันซึ่งสามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้ สำหรับปลาดุก อุยในธรรมชาติจะเริ่มเพาะขยายพันธุ์ได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน รวมเป็นช่วงเวลาขยายพันธุ์ในรอบปีเป็นเวลา 8-9 เดือน
2. ปลาดุกอุยเป็นปลาที่เลือกคู่คุ่ใครคู่มัน เมื่อปลาดุกพร้อมวางไข่แล้วจะจับคู่กับปลาเพศผู้เพื่อการผสมพันธุ์ การวางไข่ในธรรมชาติแม่ปลาจะ วาง ไข่ในหลุมโพรงหรือดินใต้น้ำ ปลาจะใช้ส่วนลำตัวและหางกวาดเศษดินเศษโคลนออกจากหลุมจนหมดเหลือแต่ดินแข็งๆ เพื่อที่จะให้ไข่เกาะติดได้ ไข่ปลาดุกอุยจะมี สีน้ำตาลอ่อน จนถึงสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ จำนวนไข่จะมีประมาณ 2,000-5,000 ฟอง ขึ้นอยู่กับขนาดและความสมบูรณ์ของแม่ปลา ปลาจะดูแลฟักไข่และเลี้ยงลูก ระยะหนึ่ง หากพบแหล่งวางไข่ของปลาดุกอุยซึ่งสังเกตเห็นว่าพ่อแม่ปลาจะว่ายน้ำเข้าออกบริเวณนั้นอยู่ระยะหนึ่งโดยมีพฤติกรรมเช่นเดียวกันกับปลาดุกด้าน ช่วง เวลาที่พบปลาชนิดนี้วางไข่ในธรรมชาติจะพบในฤดูฝน ฤดูน้ำหลากหรือช่วงที่เปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ในบ่อ เนื่ื่องจากปลาดุกอุยเป็นปลาที่แข็งแรงทนทานกิน อาหารง่าย เจริญเติบโตเร็วและอยู่รวมกันได้อย่างหนาแน่น เป็นปลาที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค จึงมีราคาแพงทำให้มีการเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพได้ดีในระดับ หนึ่ง
การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุย
พ่อแม่พันธุ์ปลาส่วนใหญ่จะได้จากธรรมชาติบ่อปลาสลิดบ่อปลาที่เลี้ยงผสมผสาน โดยรวบรวมในช่วงฤดูแล้งปลาที่ได้ส่วนใหญ่จะมีความสมบูรณ์ ์ทางเพศพร้อมที่จะนำมาเพาะพันธุ์ได้ ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือได้พ่อแม่พันธ์จากการขุนเลี้ยงขึ้นมาเอง เมื่อมีอายุได้ประมาณ 8 เดือน จะจับขึ้นมาคัดเพื่อเพาะพันธุ์ในรอบ 1 ปี แม่ปลาตัวหนึ่งนำมาเพาะพันธุ์ได้ประมาณ 2-3 ครั้ง อายุการใช้งานของแม่ปลาแต่ละรุ่นจะใช้ได้ไม่เกิน 3 ปี
การผสมเทียม
ในการเพาะฟักโดยวิธีผสมเทียมหากแม่ปลาดุกอุยไม่บอบช้ำมากอาจนำมาผสมเทียมได้ 2-3 ครั้ง/ปี การเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยในอดีตใช้ฮอร์โมน สกัดจำพวก Gonadotrophim hormone (H.C.G)ผสมกับต่อมใต้สมองปลาในอัตรา H.C.G. 100-150 I.U. กับต่อมใต้สมองปลาสวาย ปลาไนหรือปลา อื่นๆ อัตราส่วน 0.7-1โดสต่อแม่ปลาที่มีน้ำหนักรวม 1 กิโลกรัม โดยฉีดเข้าบริเวณกล้ามเนื้อส่วนหลังของตัวปลาเพื่อเร่งให้แม่ปลาไข่สุกพร้อมที่จะวางไข่ซึ่งใช้ ้เวลาประมาณ 13-16 ชั่วโมง ปัจจุบันการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยโดยวิธีผสมเทียมใช้ฮอร์โนสังเคราะห์ เช่นSuperfact (Buseralin acetate) ในอัตราส่วน 20 ไมโครกรัมผสมกับ Motilium ( Domperidone) 0.5-1 เม็ด ต่อแม่ ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ปลาดุกอุย จะวางไข่ในระยะเวลา 13-16 ชั่วโมง เช่นเดียวกับการใช้ฮอร์โมนสกัด แต่วิธีการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ง่ายและประหยัดกว่า
ลักษณะไข่ปลาดุกอุย ไข่ปลาที่ดีจะไหลออกจากช่องเพศของปลาเพศเมียได้ง่ายไข่แต่ละเม็ดจะแยกออกจากกัน ไม่ติดเป็นกระจุก ไข่ที่รีดได้จะเป็นสีน้ำตาลจนถึงสีน้ำ ตาลเข้ม และควรรีดไข่ออกจากแม่ปลาได้ไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซนต์ จึงจะเป็นไข่ที่ดีและจะต้องไม่มีเลือดหรือของเหลวชนิดอื่นเจือปน เมื่อได้ไข่ปลามากพอแล้ว (ส่วนใหญ่จะรีดไข่จากแม่ปลาหลายๆแม่มารวมกัน) นำไข่ไปผสมกับน้ำเชื้อเพศผู้ ซึ่งแกะเอาถุงน้ำเชื้อมากจากช่องท้องของปลาเพศผู้ นำมาวางบนผ้ามุ้งเขียวแล้ว ขยี้ในน้ำที่เตรียมไว้คั้นเอาน้ำเชื้อออกมาเทราดผสมกับไข่ คนไข่กับน้ำเชื้อคลุกเคล้ากันให้ทั่วเสร็จแล้วเติมน้ำและล้างให้สะอาด 2-3 ครั้ง จึงนำไข่ไปฟัก
ส่วนอีกวิธีหนึ่ง ปล่อยพ่อแม่ปลาให้ผสมกันเองในถังซีเมนต์หรือบ่อดินที่เตรียมไว้ กรณีนี้จะไม่ต้องเสียพ่อแม่พันธุ์ไม่บอบช้ำแต่จะได้ลูกปลาจำนวน น้อยไม่เหมาะกับการทำธุรกิจเพาะพันธุ์ปลาจำหน่าย โดยต้องการลูกปลาดุกอุยเสริมบ่อเลี้ยงปลาในธรรมชาติวิธีนี้จะได้ผลดีในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ต้องเริ่มปล่อยปลาดุก ก่อนที่จะปล่อยปลาชนิดอื่น 10-20 วัน การเพาะพันธุ์วิธีดังกล่าวจะมีข้อเสียหากที่คับแคบปลาจะทำร้ายกันเองหนื่องจากการแย่งคู่ เพราะไข่ปลาจะติดกับพื้นภาชนะ นั้น แต่ควรจะคำนวนเวลาให้พ่อแม่ปลาผสมกันเองในช่วงเวลากลางคืน พ่อแม่ปลาจะได้ไม่ตกใจและไม่เครียด ไข่ปลาดุกอุยเป็นไข่ติดชนิดไม่ติดแน่นนักเมื่อหลุดจาก วัสดุที่เกาะแล้วจะไม่เกาะติดอีก ทำให้เลือกรูปแบบของการฟักได้
การฟักไข่ของปลาดุกอุยทั่วๆ ไปทำได้ 2 แบบ
การฟักในถุงฟัก การฟักไข่ปลาดุกอุยมีลักษระเช่นเดียวกับการฟักไข่ปลาครึ่งลอยครึ่งจมทั่วๆ ไป ซึ่งมีน้ำดันให้ไข่ลอยตัวจากก้นกรวยอย่าง สม่ำเสมอไข่ที่ได้รับการผสมหรือไขเสียจะสามารถดูดออกทิ้งได้เป็นระยะๆ โดยวิธีกาลักน้ำ การฟักไข่ปลาดุกอุยลักษณะนี้จะฟักไข่ได้อัตรารอดสูงและใช้น้ำมาก พอสมควร แต่ก็สามารถวนกลับมาใช้ใหม่ได้ ไข่ฟักออกเป็นตัวหมดจะใช้เวลาประมาณ 24-30 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำนำลูกปลาวัยอ่อนที่ได้ไปอนุบาล ในภาชนะอื่นต่อไป ในระยะนี้ลูกปลาวัยอ่อนค่อยๆ เคลื่อนย้ายไปซุกอยู่ตามมุมหนึ่งมุมใดของบ่อและรวมตัวกันเป็นกระจุก เมื่อไข่แดงยุบหมดแล้วลูกปลาจะเริ่ม ลอยตัวว่ายไปมาเพื่อหาอาหาร และเคลื่อนไหวรวดเร็วมากในตอนกลางคืนซึ่งมีแสงสว่างน้อย เพราะปลาดุกอุยเป็นปลากินอาหารตอนกลางคืน โดยอุปนิสัยและ กินอาหารจุกว่าตอนกลางวัน
ส่วนการฟักไข่อีกวิธีหนึ่ง คือนำไข่ที่ผสมแล้วไปโรยไว้ให้เกาะติดกับอวนมุ้งไนลอนสีเขียวที่เตรียมไว้โดยโรยไข่ให้กระจายติดตาข่ายอย่าง สม่ำเสมอ เมื่อฟักไข่เป็นตัวแล้วให้ลดระดับน้ำลงต่ำกว่าอวนมุ้งไนลอนประมาณ 1 เซนติเมตร จากนั้นยกอวนมุ้งไนลอนซึ่งมีไข่เสียและเปลือกไข่ออกจากบ่อเพื่อป้อง กันน้ำเน่าเสีย แล้วเติมน้ำให้เท่ากับระดับเดิม การฟักไข่วิธีนี้ควรจะมีการระบายน้ำอย่างสม่ำเสมอจึงจะได้ผลดี สำหรับเกษตรบางรายสามารถจัดระบบการหมุนเวียน น้ำได้ดีโดยโรยไข่ที่ผสมแล้วให้เกาะติดกับถังซีเมนต์ไปเลยก็ได้ การฟักไข่วิธีหลังนี้จะต้องใช้พื้นที่บ่อมาก ข้อสังเกต หากน้ำในบ่อไม่เน่าเสียลูกปลาดุกอุยที่ไข่แดง ยังไม่ยุบจะซุกตัวกันเป็นกระจุกอยู่ตามมุมบ่อ แต่ถ้าหากน้ำเน่าเสียปลาจะลอยตัวและไหลไปตามน้ำการเพาะฟัก ในปัจจุบันนิยมวิธีที่ 2
การอนุบาล
มีวิธีแตกต่างกัน โดยทั่วไปจะอนุบาลในบ่อซีเมนต์ขนาด 2x3 เมตร น้ำลึกประมาณ 20-30 ซม. ความจุของบ่อขนาดดังกล่าวสามารถอนุบาล ลูก ปลาได้ตั้งแต่ 10,000-20,000 ตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดูแลและการถ่ายน้ำ อาหารที่ให้คือไรแดง ในระยะเริ่มต้นหลังจากที่ลูกปลาฟักออกเป็นตัวประมาณ 3 วัน หลัง จากนั้นจะทยอยให้กินอาหารสำเร็จรูปพวกพาวเดอร์ฟีด(powder-feed)หรือไข่ตุ๋นอนุบาลลูกปลาประมาณ 12-15 วัน ลูกปลาจะมีขนาด2-3 ซม.สามารถ นำไป เลี้ยงเป็นปลาเนื้อ นอกจากนี้ยังมีการอนุบาลที่นิยมกันมากอีกวิธีหนึ่ง คือ การอนุบาลในบ่อดินทั่วๆ ไป ขนาด 400-1,600 ตารางเมตร
ในระยะแรกเติมน้ำเข้าบ่อที่ใส่่ปูนขาวและกำจัดศัตรูปลาเรียบร้อยแล้วให้ระดับน้ำประมาณ 30-50 ซม. หลังจากนั้นค่อยๆ เติมน้ำเพิ่มขึ้นในระยะ ต่อมาการอนุบาลแบบนี้จะอนุบาลลูกปลาได้จำนวนมากและลูกปลาเติบโตเร็ว เนื่องจากในบ่อดิยจะเกิดอาหารธรรมชาติมากมายหลายชนิด ส่วนอาหารใช้ ชนิดเดียวกันกับที่อนุบาลในบ่อซีเมนต์
การให้อาหารควรเน้นให้ระยะเวลาพลบค่ำเป็นหลัก เพราะเวลานี้ลูกปลาจะตื่นตัวมากตามสัญญาณของสัตว์หากินกลางคืน การอนุบาลลูกปลาดุก วัยอ่อนปัญหาหลักคือ โรคปลา เนื่องจากการเลี้ยงอย่างหนาแน่นจะเกิดโรคบ่อยมากจึงต้องเอาใจใส่ในเรื่องความสะอาด การให้อาหารมากเกินไปเศษอาหารจะเหลือ มากเกิดการหมักหมด บางครั้งต้องใช้น้ำยาเคมีและยาปฏิชีวนะเข้าช่วยบ้าง ทั้งนี้ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ปัญหาจะเกิดมากในช่วงฝนตกชุกอากาศเย็นลูกปลาจะอ่อนแอ เติบโตช้า เป็นโรคง่าย ตรงกันข้ามหากอนุบาลในช่วงระยะเวลาที่อากาศร้อนฝนไม่ตกติดต่อกัน ลูกปลาดุกจะกินอาหารได้มากและเติบโตเร็ว แตกต่างกับการเลี้ยงใน ช่วงฤดูฝนตกชุกซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าปลาดุกจะกลัวฝนและชอบอากาศร้อน
ฉะนั้นการอนุบาลลูกปลาดุกอุยและการนำลูกปลาดุกมาเลี้ยง ควรคำนึงถึงเรื่องเวลาเช่นกันในช่วงระยะเวลาที่ฝนตกชุกบางครั้งจำเป็นต้องใช้ปูนขาว ละลายน้ำสาดให้ทั่วๆ บ่อควบคู่กันไปด้วย เพื่อปรับสภาพน้ำให้ปกติซึ่งจะใช้ในอัตราส่วน 60 กก./ไร่ โดยทยอยแบ่งใส่ประมาณ 3 ครั้งๆ ละ 20 กก./ไร่ ติดต่อกัน เป็นเวลา 3 วัน จะช่วยให้คุณภาพน้ำดีขึ้นและความเป็นกรดของน้ำลดลง การอนุบาลในบ่อดินนี้จะใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ จะได้ลุกปลามีขนาดความยาว 5-7 ซม. ทยอยนำออกจำหน่ายหรือเลี้ยงต่อไป
ข้อควรระวัง ในการอนุบาลลูกปลาทั้งสองวิธีข้างต้นอีกประการหนึ่งก็คือ จะต้องกำจัดลูกปลาดุกอุยรุ่นก่อนๆ ให้หมด หากมีการใช้บ่อ อนุบาลลูกปลาซ้ำหรือการใช้ลูกปลาดุกอุยที่มีอายุและขนาดต่างกันมาเลี้ยงรวมกัน ลูกปลาจะเสียหายมากเนื่องจากการกินกันเอง ฉะนั้นตามซอกมุมรอยแตกหรือที่ๆ มีน้ำ ขังเพียงเล็กน้อยในการล้างทำความสะอาดบ่อแต่ละครั้ง โดยเฉพาะบ่อดินมักจะกำจัดปลารุ่นก่อนๆ ไม่หมดปลารุ่นหลังจะถูกปลารุ่นก่อนๆ กัดกินเสียหายเป็น จำนวนมากและเช่นเดียวกันหากการอนุบาลใช้ระยะเวลามากกว่าที่กล่าว ลูกปลาตัวใหญ่จะกินลูกปลาตัวเล็ก เนื่องจากปลามีการเจริญเติบโตแตกต่างกันทำให้ลูกปลา เหลือน้อยมีปริมาณลดลงตามลำดับการเลี้ยงปลาดุกในระยะแรกๆ ที่มีการเพาะพันธุ์ปลาดุกอุยขึ้นมาได้ใหม่ๆ และอนุบาลลูกปลาให้มีขนาด 2-3 ซม.แล้วจึงนำลูกปลา ไปเลี้ยงในบ่อดินอัตราการปล่อยค่อนข้างหนาแน่น ประมาณ 10-20 ตัวต่อตารางเมตรหรือ 16,000-32,000 ตัวต่อไร่ หรืออาจมากกว่านี้ ความหนาแน่นที่พอ เหมาะนอกจากจะหวังผลในแง่ของผลผลิตต่อไร่แล้วยัง มีผลต่อการกินอาหารของปลาในบ่อมาก เพราะลูกปลาจะเหนี่ยวนำพากันกินอาหาร ได้ดีซึ่งเป็นธรรมชาติของปลาทั่วๆไปอาหารที่ให้กับการ เลี้ยงปลาดุกอุยในบ่อดินนี้เช่นเดียวกับการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อนและจะทยอยปนใส้ไก่หรืออื่นๆที่ราคา ถูก และหาได้ตามท้องถิ่นให้ทีละน้อยและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในระยะ เวลาต่อมา สำหรับการเปลี่ยนอาหารจะต้องหัดให้ปลากินโดยใช้ระยะเวลาพอสมควร ในกรณีที่เป็น อาหารสดจำพวกปลาเป็ดนำมาผสมรำละเอียด อัตราส่วน 9:1
ปลาอายุ 41-60 วัน ให้อาหาร 6-8% ของน้ำหนักปลา
ปลาอายุ 61-80 วัน ให้อาหาร 5-6% ของน้ำหนักปลา
ปลาอายุ 81-120 วัน ให้อาหาร 4-5% ของน้ำหนักปลา
การตรวจสอบในบ่อว่ามีปลามากน้อยเพียงใด เพื่อจัดปริมาณอาหารให้ตามที่กำหนด พร้อมทั้งหมั่นสังเกตว่าอาหารที่ให้ปลา กินเหลือตกค้างในบ่อหรือไม ่อาหารที่เหลือจะลอยเป็นกลุ่มๆ ตามผิวน้ำ แสดงว่าปลากินไม่หมดจะทำให้น้ำเน่าเสียและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายจึง ต้องลดปริมาณอาหาร
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
เมื่อเลี้ยงปลาไประยะหนึ่งน้ำในบ่อจะมีคุณภาพเสื่อมลง เนื่องจากสิ่งขับถ่ายออกจากตัวปล และเศษอาหารเหลือตกค้างในบ่อจำเป็นต้องมีการ เปลี่ยนน้ำโดยระบายน้ำออกประมาณ 3/4 ของบ่อ และเติมน้ำใหม่เข้าแทนที่ทั้งนี้การถ่ายเทน้ำอาจสังเกตว่า ถ้าปลากินอาหารน้อยลงจากปกติหรือมีอาหารเหลือลอย อยู่ในบ่อมากก็แสดงว่าถึงเวลาที่ต้องถ่ายเทน้ำ หรือน้ำในบ่อมีกลิ่นเหม็นมากสีของน้ำเปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที หากไม่อาจถ่ายเทน้ำได้ใน ช่วงนั้นควรใช้เกลือแกงอัตรา 3-4 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร สาดให้ทั่วบ่อ หลังจากนั้น 3-4 วัน จึงเปลี่ยนน้ำใหม่
การถ่ายเทน้ำในบ่อจะไม่บ่อยครั้งเมื่อปลามีขนาดเล็กควรใช้วิธีการเพิ่มน้ำทดแทน ปลาที่เติบโตขึ้นการถ่ายเทน้ำแต่ละเดือนก็จะมากขึ้นตามไป ด้วยและถ้าปริมาณน้ำฝนไหลลงบ่อมากๆ ควรระบายน้ำออกจากบ่อประมาณ 3/4 ของบ่อ แล้วเติมน้ำใหม่ให้ได้ปริมาณเท่าเดิม ต่อจากนั้นใช้เกลือแกงในอัตรา 150 กิโลกรัมต่อไร่สาดให้ทั่วบ่อ
การป้องกันโรค หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงและใช้ฟอร์มาลีนสาดกระจายทั่วบ่อความเข้มข้น 25-40 ส่วนล้าน สองสัปดาห์ทำซ้ำอีกครั้งเพื่อ กำจัดพวกปลิงใสที่เกาะอยู่ตามเหงืือกและครีบ ครั้งที่ 3 จะห่างจากครั้งที่ 2 ประมาณ 1 เดือน
ผลผลิต
ปลาดุกที่เลี้ยงจะเริ่มทยอยจับได้ตั้งแต่ปลาอายุ 8-10 เดือน ซึ่งจะมีขนาด 6-10 ตัว/กก. แต่ยังมีขนาดเล็กไม่ตรงกับความต้องการของตลาด สีสัน ภายนอกจะดูดีสู้ปลาจากธรรมชาติไม่ได้ แต่เมื่อนำมาบริโภครสชาติจะไม่ต่างกัน เนื้อปลาเมื่อสุกแล้วจะดูนิ่มและเหลืองน่ารับประทาน
การเลี้ยงปลาดุกอุยชนิดเดียวกันนี้จะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายอยู่ระยะหนึ่งแล้วหายไป ต่อมามีการนำปลาดุกอุยไปปล่อยเลี้ยง รวมกับปลานิล ปลาสวาย ปลาช่อน แต่จะปล่อยปลาดุกอุยตัวโต โดยไม่ได้ปล่อยปลาดุกอุยลงเลี้ยงเป็นปลาหลักเพียงแต่ปล่อยลงไปสมทบใน ปริมาณไม่มากนักก็จะได้ปลาขนาดใหญ่สีสันดีขึ้นไม่แตกต่างจากปลาธรรมชาติและจำหน่ายได้ราคาดี เกษตรกรบางรายนำปลาดุกอุยไปปล่อย ร่วมกับในนาปลาสลิดโดยหวังผลข้างต้น ซึ่งได้ปลดีเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ในปัจจุบันผู้เลี้ยงปลาดุกทั่วประเทศมักนิยมเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ซึ่งเป็นปลาที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุก รัสเซียหรือปลาดุกอัฟริกัน เพศผู้กับปลาดุกอุยเพศเมียปลาดุกลูกผสมที่ได้จะเติบโตเร็ว มีความต้านทานโรคสูง รูปร่างสีสันดีและเนื้อมีรสชาติใกล้เคียงกับปลาดุกอุย การเลี้ยงปลาชนิดนี้ปัจจุบัน ประสบผลสำเร็จยึดเป็นอาชีพหลักได้ทำให้การเลี้ยงแพร่กระจายทั่วไป โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ที่หาอาหารปลาได้ง่ายราคาถูกและฝนไม่ตกชุกมากนัก จนกระทั่ง ปัจจุบัน ปลาดุกบิ๊กอุยได้เข้ามาแทนที่การเลี้ยงปลาดุกด้านอย่างสิ้นเชิง และไม่พบผู้เลี้ยงปลาดุกด้านเป็นการค้าซึ่งในอดีตมีอยู่มากมายได้หายไปหมดสิ้นจากประเทศ ไทยในขณะนี้
โรคปลาดุกอุย
โรคที่เกิดจากขึ้นกับปลาดุกอาจเกิดจากการขาดสารอาหารเช่น วิตามิน โรคที่เกิดจากพยาธิประเภทปลิงใส เชื้อรา และโรคที่เกิดจากบักเตรีแอโรโม นาส
การรักษาและการป้องกัน
การป้องกันไม่ให้เกิดโรคเป็นสิ่งที่ดีโดยให้ความสนใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำ ความเป็นกรดเป็นด่างและเตรียมสารเคมี อาทิ ปูนขาว เกลือแกง เพื่อปรับสภาพน้ำ
ต้นทุนการเลี้ยง
ต้นทุนการเลี้ยงปลาแบ่งอกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.ต้นทุนคงที่ ได้แก่ค่าที่ดิน ค่าเช่า สิ่งก่อสร้าง ค่าแรงงานประจำ อุปกรณ์ราคาแพงและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ต้นทุนส่วนนี้จะคงที่ไม่ว่าผล ผลิตจะเพิ่มขึ้นหรือลดลง ดังนั้นถ้าได้ผลผลิตมากต้นทุนคงที่ต่อกิโลกรัมก็จะลดน้อยลง ในทางตรงกันข้ามถ้าผลผลิตต่ำต้นทุนคงที่ต่อกิโลกรัมจะเพิ่มขึ้นซึ่ง เกษตรกรส่วนใหญ่มักลืมนึกถึงต้นทุนส่วนนี้
2.ต้นทุนผันแปร ได้แก่ ค่าพันธุ์ปลา ค่าอาหาร สารเคมี ยา น้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น กระแสไฟฟ้า ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ค่าแรงงานชั่ว คราวและภาชนะอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพ ต้นทุนผันแปรนี้เป็นต้นทุนส่วนใหญ่ในการเลี้ยงปลาแต่ละรุ่น โดยพบว่าต้นทุนค่าอาหารจะสูงถึง 70-85% ของต้นทุน ทั้งหมด
การตลาด การตลาด เป็นปัญหาใหญ่ที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงปลามากที่สุด ตลาดปลาดุกนั้นเป็นในลักษณะที่มีคนกลางเป็นผู้ตระเวนจับปลาโดยตรงจากบ่อ เลี้ยงแล้วนำไปส่งพ่อค้าขายปลีดตามที่ต่างๆ ตลาดใหญ่จะอยู่ที่จังหวัดอ่างทอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กรุงเทพฯ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ผู้จับปลามี บทบาทค่อนข้างสูงในการกำหนดราคาปลาร่วมกับความต้องการของตลาด ราคาปลาดุกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างรวดเร็ว ขึ้นกับปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดและฤดู กาล โดยทั่วไปพบว่าช่วงเดือนกุมภาพันธ์ -เดือนเมษายน ราคาปลาดุกมักจะราคาถูกเนื่องจากมีปลาธรรมชาติออกสู่ตลาดมาก การเพิ่มปริมาณและมูลค่าก็คือการ ขยายตลาดต่างประเทศ การถนอมและแปรรูปในลักษณะผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ซึ่งเป็นการกระจายผลผลิตอีกทางหนึ่ง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น